วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ภาษาพูด ภาษาเขียน

การใช้ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน” นับเป็นปัญหาหนึ่งของการใช้ภาษาไทยนะคะ ผู้ใช้ภาษาบางคนนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียน บางคนนำภาษาเขียนมาใช้ในภาษาพูด เมื่อต้องการสื่อความหมายด้วยการเขียนก็ควรจะใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเอกภาพในด้านการใช้ภาษาเขียน ถ้าหากใครนึกอยากจะเขียนอะไรก็เขียนลงไปตามอำเภอใจ พจนานุกรมฉบับนั้นก็คงไม่มีความหมายอะไรนะคะ การที่
ประเทศไทยมีพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็เพื่อต้องการให้ภาษาเขียน มีมาตรฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเรามีวัฒนธรรมทางภาษาไม่แพ้นานาอารยประเทศรายการ “ภาษาไทยใช้ให้ถูก” ในวันนี้ขอนำเรื่องของ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน”มาให้ท่านผู้ฟังได้พังกันค่ะภาษาพูด คือ ภาษาที่ผู้ใช้ภาษาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการพูดนั่นเอง การพูดมีหลายระดับ ภาษาพูดมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ภาษาพูดควรคำนึงถึงความ
เหมาะสมของฐานะบุคคลและกาลเทศะด้วยค่ะภาษาเขียน คือ ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วยสาระที่นำมาอ้างอิงได้ ใช้เป็นภาษามาตรฐาน การใช้ภาษาเขียนควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่มีคำที่เป็นกันเองเหมือนภาษาพูด

ในปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้นำภาษาพูดมาใช้ปนกับภาษาเขียน “ภาษาพูด” ที่ผู้ใช้ภาษา
ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ใน “ภาษาเขียน” มีหลายลักษณะ ได้แก่


􀀩 ใช้ภาษาเขียนตามที่ออกเสียงจริง เช่น
คำที่ออกเสียง “พ้ม” มักใช้รูปเขียน “พ้ม” รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ผม
” “เค้า” ” “เค้า” ” เขา
” “ชั้น” ” “ชั้น” ” ฉัน
” “หยั่งงี้” ” “หยั่งงี้” ” อย่างนี้
” “ยังไง” ” “ยังไง” ” อย่างไร
” “ก้อ ” “ก้อ” ” ก็

คำว่า “ก็” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง แล้ว จึงย่อม เช่น ทำดีก็ได้ดี หรืออาจใช้นำหน้าคำเพื่อแสดงความหมายดังนี้ แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ เน้นความให้มี นน.เท่ากัน เช่น คำว่า “ก็ดี” บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตรของตนแสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจ เช่น คำว่า “ก็ได้” ท่านจะไปก็ได้ส่วนคำว่า “ก้อ” ที่สะกดด้วย ก ไก่ สระออ ไม้โท ก้อ เป็นคำวิเศษณ์แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ นอกจากนี้ยังมีสำนวนไทยที่ว่า “ก้อร่อ ก้อติก” ใช้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึงแสดงอาการเจ้าชู้ ทำเป็นเจ้าชู้ “ก้อ” อีกความหมายหนึ่งใช้เป็นคำนาม หมายถึง ชนชาวเขาพวกหนึ่งในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทางภาคเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ บางคนจะเรียกชาวเขาพวกนั้นว่าอีก้อเมื่อท่านผู้ฟังทราบความหมายของคำว่า ก็ ที่สะกดด้วย ก ไม้ไต่คู้ กับ ก้อ ที่สะกด
ด้วย ก ไก่ สะออ ไม้โท ควรจะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องนะคะคำที่ออกเสียง มั้ย รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ไหม (ไม้มลาย หอหีบ มอม้า)คำที่ออกเสียง มั้ย เป็นคำแสดงคำถามมาจากหรือไม่ ถ้าเราจะถามเพื่อนเราว่า“ไปเที่ยวหรือไม่” เวลาที่เราพูดเราจะพูดว่า “ไปเที่ยวไหม”คงจะเคยเห็นรูปเขียน “มั้ย” ที่สะกดด้วย มอ ม้า ไม้หันอากาศ ยอยักษ์ไม้โท นะคะ ผู้เขียนส่วนใหญ่คงต้องการให้เห็นเป็นคำที่แทนเสียงคำว่า “ไหม” หากจะเขียนด้วยมอ ม้า ไม้มลาย ไม้โท ก็อาจจะสื่อความหมายเป็น ไม้ เพราะในภาษาไทยเรานั้นถ้าเห็นคำที่สะกดด้วย สระไอ มอ ม้า ไม้โท จะออกเสียงว่า ไม้ (Maai) ออกเสียงเป็นสระเสียงยาว จึงทำให้คำ
ที่ออกเสียง ไม้ (Mai) เขียนโดยใช้รูป มอ ม้า ไม้หันอากาศ ยอ ยักษ์ ไม้โท ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะในภาษาไทยการเขียนคำที่ประสมด้วย สระอัย (ที่สะกดด้วย อ อ่าง ไม้หันอากาศ ยอ ยักษ์) ใช้เขียนคำที่มาจากคำภาษาบาลี สันสกฤต ที่เดิมออกเสียง 2 พยางค์ คือ อย (อะ- ยะ)
เมื่อนำมาใช้กับคำไทยเราจะใช้ ย เป็นตัวสะกด เช่น คำว่า วินย (วิ-นะ-ยะ) เป็นภาษาบาลีสันสกฤต ในภาษาไทยใช้ วินัย การนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียนอีกลักษณะหนึ่งที่พบบ่อย คือ
􀀩 ใช้ภาษาปากที่หรือภาษาที่พูดแบบไม่เป็นทางการเป็นภาษาเขียน เช่น ตีตั๋ว ดูหนัง
ล้วนเป็นภาษาพูด เมื่อจะนำมาใช้เป็นภาษาเขียนควรปรับภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน
ตีตั๋ว ควรใช้ ซื้อบัตร
ดูหนัง ” ชมภาพยนตร์
ของเก๊ ” ของปลอม
เข้าท่า ” เหมาะสม

การใช้ภาษาเขียนเพื่อบันทึกเป็นหลักฐาน ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษนะคะ
นอกจากการนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียนแล้ว ในทางกลับกันก็ยังมีผู้ใช้ภาษาบางคนนำภาษาเขียน
มาใช้ในภาษาพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นนักพูด หรือพิธีกรในงานต่าง ๆ ลักษณะ ที่พบบ่อยได้แก่

􀀩 การพูดเป็นตัวอักษรย่อตามบท เช่น
ภาษาเขียน นสพ.รายวัน ภาษาพูดควรใช้ว่า หนังสือพิมพ์รายวัน
” ศ.ดร. ” ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์
” เวลา 06.30 น. ” หกนาฬิกาสามสิบนาที หรือแบบไม่เป็นทางการใช้ว่าหกโมงครึ่ง
โดยปกติแล้วคำย่อหรืออักษรย่อนำมาใช้ในภาษาเขียนเพื่อประหยัดเวลา และพื้นที่ในการเขียน เมื่อจะนำมาใช้พูด คำย่อต่าง ๆ ต้องพูดให้เต็มคำนะคะ ยกเว้นคำที่พูดเต็มคำแล้วยาวมากหรือเข้าใจยาก อนุโลมให้พูดแบบภาษาเขียนได้ค่ะ เช่นป.ป.ช. ภาษาพูดอาจใช้ว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือ ปอ-ปอ-ชอ ก็ได้ เพราะ ป.ป.ช. เป็นคำย่อที่คนในสังคมรู้จักกันดีในบางครั้งที่เราเห็นรูปภาษาเขียน เราอย่าเพิ่งมั่นใจนะคะว่า การพูดหรือการออกเสียง
จะเป็นเช่นเดียวกับรูปเขียนที่เห็น เช่น เนื้อร้องเพลงเพลงหนึ่ง มีอยู่ท่อนหนึ่งที่ว่า “ขี้ฮก เบบี้ขี้ฮกตะลาลา” หากท่านผู้ฟังไม่เคยฟังเพลงนี้ ก็คงจะร้องเพลงตามเนื้อร้องที่เห็น คือ “ขี้ฮก เบบี้ขี้ฮกตะลาลา” อันที่จริงคำว่า เบบี้ ที่อยู่ในเนื้อร้องเพลงนั้นมาจากคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สะกดด้วย BABY ในที่นี้หมายถึง ที่รัก นั่นเองค่ะ เวลานักร้องนำมาร้องทำให้เสียงร้องกับรูปเขียนนั้นต่างกันออกไป จาก เบบี้ เป็น เบเบ๊ กลายเป็น “ขี้ฮก เบเบ๊ ขี้ฮกตาลาลา”

2 ความคิดเห็น:

Love Thai กล่าวว่า...

อยากให้แยกชนิดของภาษาเขียนให้มากกว่านี้หน่อยได้ไหมคะ

Love Thai กล่าวว่า...

อยากให้เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาเขียน เช่น ชนิดของภาษาเขียน